วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

นักเทคนิคการแพทย์ (Medical Technologist)

           
          นักเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist) เป็นวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่ปฏิบัติงานภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ไว้ว่าเป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัยและการรายงานผลการตรวจเพื่อวินิจฉัย การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ 

คำนำหน้าชื่อและอักษรย่อ 

            ในประเทศไทย นักเทคนิคการแพทย์สามารถใช้คำนำหน้าชื่อ เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ โดยให้ผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ชาย ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพ." และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หญิง ใช้คำนำหน้าชื่อ "ทนพญ." สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา นักเทคนิคการแพทย์จะใช้อักษรย่อว่า "MT" ซึ่งมาจาก "Medical technologist (เรียกสั้น ๆ ว่า Med tech)" 

ลักษณะงาน

       วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ คือ วิชาชีพที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ วิจัย โดยใช้ เทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ในการประเมิน สุขภาพ การวินิจฉัยโรค การทำนายความรุนแรงของโรค การติดตามผลการรักษา การป้องกันโรคและความพิการ การสนับสนุนการรักษา การวิเคราะห์สารพิษ สารปนเปื้อนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการควบคุมคุณภาพ การพัฒนาและวิเคราะห์ ลักษณะงานเทคนิคการแพทย์สาขาต่าง ๆ ได้แก่ 

1. เคมีคลีนิก
2. จุลชีววิทยาคลีนิค 
3. ภูมิคุ้มกันวิทยาคลีนิก และธนาคารเลือด 
4. จุลทรรศนศาสตร์คลีนิก และโลหิตวิทยา
        
       นักเทคนิคการแพทย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใน 4 สาขา ดังกล่าว ได้แก่ การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ได้มาจากร่างกายมนุษย์เก็บรักษาสิ่งส่งตรวจ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการตรวจวิเคราะห์เมื่อทราบชนิด และปริมาณของสิ่งส่งตรวจ โดยใช้วิธีการที่เป็นมาตรฐานในห้องปฏิบัติการทั่วไป เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์แก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังรับผิดชอบในการรวบรวมข้อมูล จัดทำรายงานผลการตรวจวิเคราะห์และการทดสอบต่าง ๆ ควบคุมดูแลการใช้งาน และการเก็บรักษาเครื่องมือ ตลอดจนตรวจสอบการประกันคุณภาพ และสามารถ ถ่ายทอดความรู้ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ร่วมงาน บุคลากรสาขาอื่น และประชาชน ทั่วไป ได้อย่างถูกต้อง



การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจาง (Thalassemia)


 


         

            1. การดูแลรักษาสุขภาพทั่วไป 

  ควรมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด ประกอบด้วยการดูแลสุขภาพทั่วไป รับประทานอาหารที่มีโปรตีน เช่น นม ไข่ ถั่ว เพื่อเสริมสร้างเลือด การดื่มน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากลำไส้ได้

 2. การให้เลือด มี 2 แบบคือ

2.1 การให้เลือดแบบประคับประคอง เพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้นให้สูงกว่า 6-7 กรัม/เดซิลิตร พอให้ผู้ป่วยหายจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อย มึนงง จากอาการขาดออกซิเจน ให้เป็นครั้งคราว

2.2 การให้เลือดจนหายซีด เพิ่มระดับฮีโมโกลบินให้สูงใกล้เคียงคน ปกติอาจต้องให้เลือดทุก 2-3 สัปดาห์ จนระดับฮีโมโกลบินก่อนให้เลือดอยู่ ในเกณฑ์   10 กรัม/เดซิลิตร

3. การรักษาโดยการตัดม้าม

 ผลดีก็คือ หลังการตัดม้ามจะทำให้หายอึดอัด และอัตราการให้เลือดจะลดลงมาก ส่วนผลเสียก็คือ อาจมีภาวะติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี

 

          4. การรักษาโดยการให้ยาขับธาตุเหล็ก

โดยยาที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ยา Desferal ซึ่งต้องให้โดยวิธีการฉีด โดยมีเครื่องช่วยให้ยาเรียกว่า Infusion pump หากมีภาวะเหล็กเกินมาก ต้องให้ยาในขนาด 40-60 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สัปดาห์ละ 5-6 วัน จึงจะขับธาตุเหล็กออกได้เต็มที่จนไม่มีเหล็กเกิน นิยมฉีดก่อนนอนและถอดเข็มออกเมื่อตื่นนอน


 

            5. การรักษาโดยการปลูกถ่ายไขกระดูก

      เป็นวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาด โดยใช้ไขกระดูกของพี่น้องที่มีเม็ดเลือดขาวเข้ากันได้กับผู้ป่วยไปทดแทนให้ผู้ป่วยโดยที่มีโอกาสหายขาดร้อยละ70-80 







วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคโลหิตจาง (Thalassemia)



           ในประเทศไทยมีอัตราการเป็นโรคโลหิตจาง ร้อยละ 1 หรือประมาณ 6 แสนคน และอัตราของผู้ที่เป็นพาหะนั้นอยู่ที่ร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 25 ล้านคนซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ 
          โรคโลหิตจาง เป็นโรคที่มีผลมาจากการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงมีความผิดปกติ โดยทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกตัวง่าย ถูกทำลายได้ง่าย นำพาออกซิเจนได้ไม่ดี สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1.โรคเบต้าธาลัสซีเมีย


        1.1 โฮโมซัยกัสเบต้าธาลัสซีเมีย มีอาการดังนี้
  • ซีดเรื้อรัง
  • หน้าผากโหนก
  • โหนกแก้มสูง
  • ดั้งจมูกแฟบ
  • เตี้ยแคระแกน
  • พุงป่อง ม้ามโต  
       






2.โรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย


        2.1 ฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอพส์ฟีทัลลิส มีอาการดังนี้

เป็นชนิดที่รุนแรงที่สุด ตายทั้งหมดตั้งแต่ในครรภ์ตายขณะคลอด ทารกมีลักษณะบวมและซีด รกขนาดใหญ่ ท้องป่องตับโตมาก ส่วนแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกที่เป็นโรคนี้ จะมีปัญหาแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์คือ ครรภ์เป็นพิษ มีความดันเลือดสูง บวม มักมีการคลอดที่ผิดปกติ และมีการตกเลือดหลังคลอดด้วย